วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน


ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร
           การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
กระบวนการสื่อสาร
กระบวนการสื่อสาร (Communication Process) โดยทั่วไปเริ่มต้นจากผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวมแนวความคิดหรือข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสาร ก็จะแปลงแนวความคิดหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกมาเป็น ตัวอักษร น้ำเสียง สี การเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าข่าวสาร (Massage) จะได้รับการใส่รหัส(Encoding) แล้วส่งไปยังผู้รับข่าวสาร (Receivers) ผ่านสื่อกลาง (Media) ในช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels)ประเภทต่าง ๆ หรืออาจจะถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงก็ได้ ผู้รับข่าวสาร เมื่อได้รับข่าวสารแล้วจะถอดรหัส (Decoding) ตามความเข้าใจและประสบการณ์ในอดีต หรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้น และมีปฏิกริยาตอบสนองกลับไปยังผู้ส่งข่าวสารซึ่งอยู่ในรูปขอความรู้ ความเข้าใจ การตอบรับ การปฏิเสธหรือการนิ่งเงียงก็เป็นได้ ทั้งนี้ข่าวสารที่ถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารอาจจะไม่ถึงผู้รับข่าวสารทั้งหมดก็เป็นได้ หรือข่าวสารอาจถูกบิดเบือนไปเพราะในกระบวนการสื่อสาร ย่อมมีโอกาสเกิดสิ่งรบกวน หรือตัวแทรกแซง(Noise or Interferes) ได้ ทุกขั้นตอนของการสื่อสาร
คุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร
1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
2. มีทักษะในการสื่อสาร
3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็ว และมีความจำดี
4. มีความซื่อตรง มีความกล้าที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
5. มีความคิดสุขุม รอบคอบ
6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
8. มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสารต่าง ๆ
9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
10. มีศิลปะและเทคนิคการจูงใจคน
11. รู้ขั้นตอนการทำงาน
12. มีมนุษยสัมพันธ์ดี


ความหมายของการสื่อสาร
ความรู้พื้นฐานเรื่องการสื่อสาร
การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตมนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลาการสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มากการสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบันซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์เป็นยุคของข้อมูลข่าวสารการสื่อสารมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและสังคมการสื่อสารทำให้คนมีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้นการสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคมเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้งทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดพัฒนาเรียนรู้และรับรู้วัฒนธรรมของตนเองและสังคมได้การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ชุมชนและสังคมในทุกด้าน
ความหมายของการสื่อสาร
คำว่าการสื่อสาร (communications)  มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่าcommunis หมายถึงความเหมือนกันหรือร่วมกันการสื่อสาร (communication)    หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสารข้อมูลความรู้ประสบการณ์ความรู้สึกความคิดเห็นความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่างๆที่อาจเป็นการพูดการเขียนสัญลักษณ์อื่นใดการแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่างๆไปยังผู้รับสารซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมหรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสารโดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกันบริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล

ความสำคัญของการสื่อสาร
การสื่อสารมีความสำคัญดังนี้
1.  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้โดยปราศจากการสื่อสารทุกสาขาอาชีพก็ต้องใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงานการทำธุรกิจต่างๆโดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลาพัฒนาการทางสังคมจึงดำเนินไปพร้อมๆกับพัฒนาการทางการสื่อสาร
2.  การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคมช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคมช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีสะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรืองวิถีชีวิตของผู้คนช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
3.  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคมการพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรมจริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯลฯรวมทั้งศาสตร์ในการสื่อสารจำเป็นต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ

องค์ประกอบของการสื่อสาร
องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารมี4ประการดังนี้
1.  ผู้ส่งสาร (sender) หรือแหล่งสาร (source) หมายถึงบุคคลกลุ่มบุคคลหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งสารหรือเป็นแหล่งกำเนิดสารที่เป็นผู้เริ่มต้นส่งสารด้วยการแปลสารนั้นให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นแทนความคิดได้แก่ภาษาและอากัปกิริยาต่างๆเพื่อสื่อสารความคิดความรู้สึกข่าวสารความต้องการและวัตถุประสงค์ของตนไปยังผู้รับสารด้วยวิธีการใดๆหรือส่งผ่านช่องทางใดก็ตามจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามเช่นผู้พูดผู้เขียนกวีศิลปินนักจัดรายการวิทยุโฆษกรัฐบาลองค์การสถาบันสถานีวิทยุกระจายเสียงสถานีวิทยุโทรทัศน์กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์หน่วยงานของรัฐบริษัทสถาบันสื่อมวลชนเป็นต้น
คุณสมบัติของผู้ส่งสาร
1.  เป็นผู้ที่มีเจตนาแน่ชัดที่จะให้ผู้อื่นรับรู้จุดประสงค์ของตนในการส่งสารแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ฯลฯ
2.  เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของสารที่ต้องการจะสื่อออกไปเป็นอย่างดี
3.  เป็นผู้ที่มีบุคลิกลักษณะที่ดีมีความน่าเชื่อถือแคล่วคล่องเปิดเผยจริงใจและมีความรับผิดชอบในฐานะเป็นผู้ส่งสาร
4.  เป็นผู้ที่สามารถเข้าใจความพร้อมและความสามารถในการรับสารของผู้รับสาร
5.  เป็นผู้รู้จักเลือกใช้กลวิธีที่เหมาะสมในการส่งสารหรือนำเสนอสาร
2.  สาร (message) หมายถึงเรื่องราวที่มีความหมายหรือสิ่งต่างๆที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูลความรู้ความคิดความต้องการอารมณ์ฯลฯซึ่งถ่ายทอดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารให้ได้รับรู้และแสดงออกมาโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใดๆที่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้เช่นข้อความที่พูดข้อความที่เขียนบทเพลงที่ร้องรูปที่วาดเรื่องราวที่อ่านท่าทางที่สื่อความหมายเป็นต้น
2.1รหัสสาร (message code)ได้แก่ภาษาสัญลักษณ์หรือสัญญาณที่มนุษย์ใช้เพื่อแสดงออกแทนความรู้ความคิดอารมณ์หรือความรู้สึกต่างๆ
2.2เนื้อหาของสาร  (message content) หมายถึงบรรดาความรู้ความคิดและประสบการณ์ที่ผู้ส่งสารต้องการจะถ่ายทอดเพื่อการรับรู้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเพื่อความเข้าใจร่วมกันหรือโต้ตอบกัน
2.3การจัดสาร (message treatment) หมายถึงการรวบรวมเนื้อหาของสารแล้วนำมาเรียบเรียงให้เป็นไปอย่างมีระบบเพื่อให้ได้ใจความตามเนื้อหาที่ต้องการด้วยการเลือกใช้รหัสสารที่เหมาะสม
3.  สื่อหรือช่องทาง (media or channel) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการสื่อสารหมายถึงสิ่งที่เป็นพาหนะของสารทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร
4.  ผู้รับสาร (receiver)  หมายถึงบุคคลกลุ่มบุคคลหรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสารจากผู้ส่งสารและแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ต่อผู้ส่งสารหรือส่งสารต่อไปถึงผู้รับสารคนอื่นๆตามจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสารเช่นผู้เข้าร่วมประชุมผู้ฟังรายการวิทยุกลุ่มผู้ฟังการอภิปรายผู้อ่านบทความจากหนังสือพิมพ์เป็นต้น


หลักในการสื่อสาร
การสื่อสารจะประสบความสำเร็จตรงตามจุดประสงค์หรือไม่ผู้ส่งสารควรคำนึงถึงหลักการสื่อสารดังนี้  (ภาควิชาภาษาไทยสถาบันราชภัฏเทพสตรีลพบรี, 2542: 13-14)
1.  ผู้ที่จะสื่อสารให้ได้ผลและเกิดประโยชน์จะต้องทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสารและปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรู้การคิดการเรียนรู้การจำซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในการสื่อสาร
2.  ผู้ที่จะสื่อสารต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสารบริบทในการสื่อสารหมายถึงสิ่งที่อยู่แวดล้อมที่มีส่วนในการกำหนดรู้ความหมายหรือความเข้าใจในการสื่อสาร
3.  คำนึงถึงกรอบแห่งการอ้างอิง (frame of reference) มนุษย์ทุกคนจะมีพื้นความรู้ทักษะเจตคติค่านิยมสังคมประสบการณ์ฯลฯเรียกว่าภูมิหลังแตกต่างกันถ้าคู่สื่อสารใดมีกรอบแห่งการอ้างอิงคล้ายกันใกล้เคียงกันจะทำให้การสื่อสารง่ายขึ้น
4.  การสื่อสารจะมีประสิทธิผลเมื่อผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจนผ่านสื่อหรือช่องทางที่เหมาะสมถึงผู้รับสารที่มีทักษะในการสื่อสารและมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน
5.  ผู้ส่งสารและผู้รับสารควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้าเพราะจะทำให้การสื่อสารราบรื่นสะดวกรวดเร็วเป็นไปตามวัตถุประสงค์และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีหากจะเกิดอุปสรรค์ที่จุดใดจุดหนึ่ง
6.  คำนึงถึงการใช้ทักษะเพราะภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในการสื่อความหมายซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจในการสื่อสารคู่สื่อสารต้องศึกษาเรื่องการใช้ภาษาและสามารถใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกาลเทศะบุคคลเนื้อหาของสารและช่องทางหรือสื่อที่ใช้ในการสื่อสาร
7.  คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับตลอดเวลาถือเป็นการประเมินผลการสื่อสารที่จะทำให้คู่สื่อสารรับรู้ผลของการสื่อสารว่าประสบผลดีตรงตามวัตถุหรือไม่ควรปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อบกพร่องใดเพื่อที่จะทำให้การสื่อสารเกิดผลตามที่ต้องการ
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
คณาจารย์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2551: 17)  กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการสื่อสารไว้ดังนี้
1.  เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform)  ในการทำการสื่อสารผู้ทำการสื่อสารควรมีความต้องการที่จะบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสารเรื่องราวเหตุการณ์หรือสิ่งอื่นใดให้ผู้รับสารได้รับทราบ
2.  เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education)  ผู้ทำการสื่อสารอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อจะถ่ายทอดวิชาความรู้หรือเรื่องราวเชิงวิชาการเพื่อให้ผู้รับสารได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น
3.  เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain)  ผู้ทำการสื่อสารอาจใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสารโดยอาศัยสารที่ตนเองส่งออกไปไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูดการเขียนหรือการแสดงกิริยาต่างๆ
4.  เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade) ผู้ทำการสื่อสารอาจใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะหรือชักจูงใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้รับสารและอาจชักจูงใจให้ผู้รับสารมีความคิดคล้อยตามหรือยอมปฏิบัติตามการเสนอแนะของตน
5.  เพื่อเรียนรู้ (learn) วัตถุประสงค์นี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้รับสารการแสวงหาความรู้ของผู้รับสารโดยอาศัยลักษณะของสารในกรณีนี้มักจะเป็นสารที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิชาความรู้เป็นการหาความรู้เพิ่มเติมและเป็นการทำความเข้าใจกับเนื้อหาของสารที่ผู้ทำการสื่อสารถ่ายทอดมาถึงตน
6.  เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide)  ในการดำเนินชีวิตของคนเรามีสิ่งหนึ่งที่ต้องกระทำอยู่เสมอก็คือการตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งการตัดสินใจนั้นอาจได้รับการเสนอแนะหรือชักจูงใจให้กระทำอย่างนั้นอย่างนี้จากบุคคลอื่นอยู่เสมอทางเลือกในการตัดสินใจของเราจึงขึ้นอยู่กับข้อเสนอแนะนั้น
อุปสรรคในการสื่อสาร
อุปสรรคในการสื่อสารหมายถึงสิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของผู้สื่อสารและผู้รับสารอุปสรรคในการสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสารดังนั้นอุปสรรคในการสื่อสารจากองค์ประกอบต่างๆดังนี้
1.  อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร
1.1ผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจและข้อมูลเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อ
1.2ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม
1.3ผู้ส่งสารไม่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดีและไม่เหมาะสม
1.4ผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการส่งสาร
1.5ผู้ส่งสารขาดความพร้อมในการส่งสาร
1.6ผู้ส่งสารมีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร
2.  อุปสรรคที่เกิดจากสาร
2.1สารไม่เหมาะสมกับผู้รับสารอาจยากหรือง่ายเกินไป
2.2สารขาดการจัดลำดับที่ดีสลับซับซ้อนขาดความชัดเจน
2.3สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ
2.4สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือขาดความชัดเจน
3.  อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อหรือช่องทาง
3.1การใช้สื่อไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนำเสนอ
3.2การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดี
3.3การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร
4.  อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร
4.1ขาดความรู้ในสารที่จะรับ
4.2ขาดความพร้อมที่จะรับสาร
4.3ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร
4.4ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสาร
4.5  ผู้รับสารมีความคาดหวังในการสื่อสารสูงเกินไป
การสื่อสารกับการศึกษา
การเรียนการสอน เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่ง มีทั้งผู้ส่งสาร อันได้แก่ครูผู้สอน มีสาร คือความรู้หรือประสบการณ์ที่จัดขึ้น ผู้รับสารคือ ผู้เรียน มีกระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วยเครื่องมือ สื่อการเรียนการสอนต่างๆ ภายใต้สถานการณ์ที่จัดขึ้นในห้องเรียน หรือสถานการณ์ที่จัดขึ้นในสถานที่อื่น และมีจุดหมายของหลักสูตรเป็นเครื่องนำทาง
จุดมุ่งหมายของการสื่อสารในการเรียนการสอน คือการพยายามสร้างความเข้าใจ ทักษะ ความรู้ ความคิดต่างๆ ร่วมกัน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ความสำเร็จของการเรียนการสอน พิจารณาได้จากพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้แต่ต้น ตามลักษณะการเรียนรู้นั้นๆ ปัญหาสำคัญของการสื่อสารในการเรียนการสอนคือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างความเข้าใจระหว่างครูกับนักเรียนได้อย่างถูกต้อง ครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการสื่อสาร และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับครู คือการใช้สื่อการเรียนการสอนต่างๆ อย่างเหมาะสม นอกเหนือการใช้คำพูดของครูแต่เพียงอย่างเดียว ทั้งนี้เพราะสื่อหรือโสตทัศนูปกรณ์ มีคุณลักษณะพิเศษบางประการที่ไม่มีในตัวบุคคล คือ
1.   จับยึดประสบการณ์ เหตุการณ์ กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น สามารถใช้สื่อต่างๆ บันทึกไว้เพื่อนำมาศึกษาได้อย่างกว้างขวาง เช่น การบันทึกภาพ บันทึกเสียง การพิมพ์ ฯลฯ
2.   ดัดแปลงปรุงแต่ง เพื่อทำสิ่งที่เข้าใจยาก ให้อยู่ในลักษณะที่ศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น การย่อส่วน ขยายส่วน ทำให้ช้าลง ทำให้เร็วขึ้น จากไกลทำให้ดูใกล้ จากสิ่งที่มีความซับซ้อนสามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนขึ้น
3.   ขยายจ่ายแจก ทำสำเนา หรือเผยแพร่ได้จำนวนมาก เช่น รายการวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพถ่าย จึงช่วยให้ความรู้ต่างๆ เข้าถึงผู้รับได้เป็นจำนวนมากพร้อมกัน
พัฒนาการของการสื่อสาร
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของโลก นับตั้งแต่มนุษย์ได้มีการรวมกลุ่มกันเป็นสังคมขนาดใหญ่นั้น อาจแบ่งออกเป็น 3 ยุค ที่สำคัญตามลำดับ คือ เริ่มแรกเป็นยุคของเกษตรกรรม ต่อมาเปลี่ยนแปลงเป็นยุคอุตสาหกรรม และถึงปัจจุบันได้ชื่อว่าเป็นยุคของการสื่อสาร
เหตุที่ยุคปัจจุบันได้รับการเรียกขานว่าเป็นยุคของการสื่อสาร เพราะเป็นยุคที่เทคโนโลยีด้านการสื่อสารข้อมูลต่างๆ มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก และอัตราความเจริญเป็นไปอย่างรวดเร็ว หลายอย่างแทบไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์จะสามารถคิดค้นขึ้นมาได้ในศตวรรษนี้ ความเจริญก้าวหน้าของการสื่อสารดังกล่าว ก่อนที่จะมาถึงจุดนี้นั้น ย่อมจะมีพัฒนาการมายาวนาน พร้อมกับการเกิดขึ้นของสังคมมนุษย์ตั้งแต่ยุคโบราณ

การสื่อสารในยุคปัจจุบัน
ปัจจุบันได้ชื่อว่า เป็นยุคของการสื่อสารอย่างแท้จริง การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทุกๆ ด้าน ทำให้การสื่อสารกลายเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมาก สภาพของสังคมปัจจุบัน ทั้งในระดับชุมชน ระดับประเทศหรือระดับโลก เกิดการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ การแก่งแย่งทางการค้า จากอดีตที่เคยทำสงครามรบพุ่งฆ่าฟันกันด้วยอาวุธ เพื่อครอบครองดินแดน และหาแหล่งทรัพยากร กลายมาเป็นการทำสงครามทางการค้า และสงครามทางวัฒนธรรม สภาพของสังคมเช่นนี้ ผู้ที่ทราบหรือครอบครองข่าวสารข้อมูลมากกว่า ย่อมเป็นผู้ได้เปรียบ ข่าวสารข้อมูลต่างๆ ย่อมได้มาโดยวิธีการของการสื่อสาร ซึ่งนับว่าปัจจุบันมีความก้าวหน้าอย่างยิ่ง ทั้งในด้านเทคนิควิธีการ และเครื่องมือสื่อสารอันทันสมัย เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง และใช้งานได้อย่างหลากหลาย การสื่อสารทางไกล ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ ไม่เพียงเฉพาะการสื่อสารระหว่างอำเภอ จังหวัด หรือระหว่างประเทศ ข้ามทวีปเท่านั้น ปัจจุบันเราสามารถสื่อสารได้ถึงระดับดวงดาว ทั้งภาพ และเสียง

การสื่อสารกับการศึกษา
การสื่อสารมีความสัมพันธ์กับการศึกษาอย่างไร?การสื่อสารมีความสัมพันธ์กับการศึกษาอย่างไร?การสื่อสารคือกระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสารรูปแบบอย่างง่ายของสารคือจะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัสไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัสอีกความหมายหนึ่งการสื่อสาร (Communication) หมายถึงกระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารมีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมาโดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
องค์ประกอบของการสื่อสารประกอบด้วย
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนองเมื่อกล่าวถึงคำว่าการศึกษาเราหมายความถึงทั้งการเรียนการสอนทักษะเฉพาะและสิ่งที่แม้จะจับต้องไม่ได้แต่เป็นสิ่งที่ลึกซึ้งกล่าวคือการถ่ายทอดความรู้ทักษะการตัดสินที่ดีและภูมิปัญญาเป้าหมายพื้นฐานอีกประการหนึ่งของการศึกษาคือการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากรุ่นไปสู่รุ่น (ดูการขัดเกลาทางสังคม (socialization)) อีกความหมายหนึ่งของการศึกษาคือการพัฒนาคนซึ่งการพัฒนาหมายถึงการแก้ไขข้อบกพร่องให้ดีขึ้น / การเสริมข้อดีให้คงสภาพหรือดียิ่งขึ้นเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าการศึกษานั้นเป็นขบวนการที่ใช้เวลาทั้งชีวิตมีการวิจัยในเด็กที่อยู่ในท้องแม่พบว่าเด็กนั้นมีการเรียนรู้ในครรภ์แม่แต่ก่อนแรกเกิดดังนั้นการสื่อสารมีความสัมพันธ์กับการศึกษาอย่างชัดเจนเพราะว่าการเรียนการสอนเป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งมีทั้งผู้ส่งสารอันได้แก่ครูผู้สอนมีสารคือความรู้หรือประสบการณ์ที่จัดขึ้นผู้รับสารคือผู้เรียนมีกระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วยเครื่องมือสื่อการเรียนการสอนต่างๆภายใต้สถานการณ์ที่จัดขึ้นในห้องเรียนหรือสถานการณ์ที่จัดขึ้นในสถานที่อื่นและมีจุดหมายของหลักสูตรเป็นเครื่องนำทางจุดมุ่งหมายของการสื่อสารในการเรียนการสอนคือการพยายามสร้างความเข้าใจทักษะความรู้ความคิดต่างๆร่วมกันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนความสำเร็จของการเรียนการสอนพิจารณาได้จากพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้แต่ต้นตามลักษณะการเรียนรู้นั้นๆปัญหาสำคัญของการสื่อสารในการเรียนการสอนคือทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างความเข้าใจระหว่างครูกับนักเรียนได้อย่างถูกต้องครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความสามารถมีทักษะในการสื่อสารและที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับครูคือการใช้สื่อการเรียนการสอนต่างๆอย่างเหมาะสมนอกเหนือการใช้คำพูดของครูแต่เพียงอย่างเดียวทั้งนี้เพราะสื่อหรือโสตทัศนูปกรณ์มีคุณลักษณะพิเศษบางประการที่ไม่มีในตัวบุคคลคือ1. จับยึดประสบการณ์เหตุการณ์กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นสามารถใช้สื่อต่างๆบันทึกไว้เพื่อนำมาศึกษาได้อย่างกว้างขวางเช่นการบันทึกภาพบันทึกเสียงการพิมพ์ฯลฯ2. ดัดแปลงปรุงแต่งเพื่อทำสิ่งที่เข้าใจยากให้อยู่ในลักษณะที่ศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้นเช่นการย่อส่วนขยายส่วนทำให้ช้าลงทำให้เร็วขึ้นจากไกลทำให้ดูใกล้จากสิ่งที่มีความซับซ้อนสามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนขึ้น3. ขยายจ่ายแจกทำสำเนาหรือเผยแพร่ได้จำนวนมากเช่นรายการวิทยุโทรทัศน์หนังสือพิมพ์ภาพถ่ายจึงช่วยให้ความรู้ต่างๆเข้าถึงผู้รับได้เป็นจำนวนมากพร้อมกันนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งนะครับแต่คงจะมีมากกว่านี้อีกยังไงก็ขอให้ท่านที่สนใจไปศึกษาเพิ่มเติมได้นะครับจากอินเตอร์เน็ตห้องสมุดหรือหนังสือต่างๆได้
การสื่อสารและการเรียนรู้
วิธีการการสื่อสารแบ่งออกได้ 3 วิธีคือ
1.1 การสื่อสารด้วยวาจาหรือ "วจภาษา" (Oral Communication) เช่นการพูดการร้องเพลงเป็นต้น
1.2 การสื่อสารที่มิใช่วาจาหรือ "อวจนภาษา" (Nonverbal Communication) และการสื่อสารด้วยภาษาเขียน (Written Communication) เช่นการสื่อสารด้วยท่าทางภาษามือและตัวหนังสือเป็นต้น
โปสเตอร์สไลด์เป็นต้น (Eyre 1979:31) หรือโดยการใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่างๆเช่นลูกศรชี้ทางเดินเป็นต้น
2. รูปแบบของการสื่อสารแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบคือ
2.1 การสื่อสารทางเดียว (One - Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยที่ผู้รับไม่สามารถมีการตอบสนองในทันที (immediate response) ให้ผู้ส่งทราบได้แต่อาจจะมีปฏิกิริยาสนองกลับ (feedback) ไปยังผู้ส่งภายหลังได้การสื่อสารในรูปแบบนี้จึงเป็นการที่ผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันทีจึงมักเป็นการสื่อสารโดยอาศัยสื่อมวลชนเช่นการฟังวิทยุหรือการชมโทรทัศน์เหล่านี้เป็น
2.2 การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันทีโดยที่ผู้ส่งและผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่ก็ได้แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจาหรือการโต้ตอบกันไปมาโดยที่ต่างฝ่ายต่างผลัดกันทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกันเช่นการพูดโทรศัพท์การประชุมเป็น
3 ประเภทของการสื่อสารแบ่งได้เป็น 4 ประเภทดังนี้
3.1 การสื่อสารในตนเอง (Intapersonal or Self-Communication) เป็นการสื่อสารภายในตัวเองหมายถึงบุคคลผู้นั้นเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกันเช่นการเขียนและอ่านหนังสือเป็นต้น
3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างคน 2 คนเช่นการสนทนาหรือการโต้ตอบจดหมายระหว่างกันเป็นต้น
3.3 การสื่อสารแบบกลุ่มชน (Group Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มชนซึ่งประกอบด้วยคนจำนวนมากเช่นการสอนในห้องเรียนระหว่างครูเพียงคนเดียวกับนักเรียนทั้งห้องหรือระหว่างกลุ่มชนกับบุคคลเช่นกลุ่มชนมาร่วมกันฟังคำปราศรัยหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นต้น
3.4 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นการสื่อสารโดยการอาศัยสื่อมวลชนประเภทวิทยุโทรทัศน์ภาพยนตร์และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆเช่นนิตรสารหนังสือพิมพ์แผ่นพับแผ่นโปสเตอร์ฯลฯเพื่อการติดต่อไปยังผู้รับสารจำนวนมากซึ่งเป็นมวลชนให้ได้รับข้อมูลข่าวสารเดียวกันในเวลาพร้อมๆหรือ
1. ผู้ส่งผู้สื่อสารหรือต้นแหล่งของการส่ง (Sender, Communicatior or Source) เป็นแหลหรือผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราวแนวความคิดความรู้ตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆเพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มชนก็ได้ผู้ส่งนี้จะเป็นบุคคลเพียงคนเดียวกลุ่มบุคคลหรือสถาบันโดยอยู่ในลักษณะต่างๆได้หลายอย่าง
2. เนื้อหาเรื่องราว (Message) ได้แก่เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมาเช่นความรู้ความคิดข่าวสารบทเพลงข้อเขียนภาพฯลฯเพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านี้
3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร (Media or Channel) หมายถึงตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวความคิดเหตุการณ์เรื่อราวต่างๆที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ
4. ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย (Receiver or Target Audience) ได้แก่ผู้รับเนื้อหาเรื่องราวจากแหล่งหรือที่ผู้ส่งส่งมาผู้รับนี้อาจเป็นบุคคลกลุ่มชนหรือสถาบันก็ได้
5. ผล (Effect) หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ส่งส่งเรื่องราวไปยังผู้รับผลที่เกิดขึ้นคือการที่ผู้รับอาจมีความเข้าใจหรือไม่รู้เรื่องยอมรับหรือปฏิเสธพอใจหรือโกรธฯลฯสิ่งเหล่านี้เป็นผลของการสื่อสารและจะเป็นผลสืบเนื่องต่อไปว่าการสื่อสารนั้นจะสามารถบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้รับสื่อที่ใช้และสถานการณ์ในการสื่อสารเป็นสำคัญด้วย
6. ปฏิกริยาสนองกลับ (Feedback) เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องจากผลซึ่งผู้รับส่งกลับมายังผู้ส่งโดยผู้รับอาจแสดงอาการให้เห็นเช่นง่วงนอนปรบมือยิ้มพยักหน้าการพูดโต้ตอบหรือการแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นข้อมูลที่ทำให้ผู้ส่งทราบว่าผู้รับมีความพอใจหรือมีความเข้าใจในความหมายที่ส่งไปหรือไม่ปฏิกริยาสนองกลับนี้คือข้อมูลย้อนกลับอันเกิดจากการตอบสนองของผู้รับที่ส่งกลับไปยัง

องค์ประกอบของการสื่อสารในการเรียนการสอน
1. ผู้ส่งสารในการเรียนการสอนคือผู้สอนครูวิทยากรหรือผู้บรรยาย
2. เนื้อหาความรู้ที่ส่งให้แก่ผู้เรียนได้แก่เนื้อหาของวิชาตามหลักสูตรที่กำหนดไว้โดยจะแบ่งไว้เป็นบทเรียนมีการเรียงลำดับความยากง่ายเพื่อความสะดวกในการนำมาสอน
3. สื่อหรือช่องทางที่ใช้ส่งเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียน
4. ผู้รับสารในการเรียนการสอนได้แก่ผู้เรียนซึ่งมีระดับอายุสติปัญญาและความรู้พื้นฐานที่แตกต่างกันในแต่ละระดับชั้นจึงทำให้มีความสามารถในการถอดรหัสแตกต่างกันไปด้วย
5. ผลที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอนหมายถึงผลของการเรียนรู้เพื่อแสดงว่าผู้เรียนสามารถเข้าใจสารหรือความรู้ที่รับมาหรือไม่
6. ปฏิกริยาสนองกลับของผู้เรียนหมายถึงการที่ผู้เรียนตอบคำถามได้หรืออาจจะถามคำถามกลับไปยังผู้สอนหรือการที่ผู้เรียนแสดงอาการง่วงนอนยิ้มหรือแสดงกริยาใดๆส่งกลับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น